วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แพนกาเซียสดอร์รี่” เป็นชื่อสากล ขณะที่ “สวาย” เป็นชื่อท้อง

     
      Kittisak Grilled Fish | Pangasius Smoked fromThailand
เราคือโรงงานผู้ผลิตโดยตรง และจัดจำหน่าย

ปลาสวายย่าง,ปลาสวายรมควัน,ปลาย่าง

ปลาสวายย่าง,ปลาสวายรมควัน,ปลาย่าง | Grilled Pangasius, Pangasius, Smoked, grilled fish,Dry fish,Dried fish,Catfish



คุณภาพระดับส่งออกชั้นหนึ่ง เกรด A++ อร่อย คุณภาพระดับพรีเมี่ยม ราคาโรงงาน 

รับสั่งผลิตเป็นจำนวนมาก 

***ส่งให้ทั่วไทยและทั่วโลก***

*** ความสามารถในการผลิต 1,000 กิโลกรัม / วัน ***

*** ประสพการณ์ด้านการย่างปลาสวายกว่า 20 ปี ***

*** ราคาสามารถต่อรองได้ ***

ที่ตั้งโรงงานและที่อยู่ กรุณาติดต่อ

กิตติศักดิ์ หาสุชล

บ้านเลขที่ 91 หมู่ 1 ต.โรงช้าง อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา 13150,ไทยแลนด์

โทร. 035-766-389,089-540-3014

อีเมล์ : kittisak.hasu@gmail.com

***********************************************************************************************
We are the manufacturer directly and distribution.

 Grilled PangasiusPangasius, Smoked, grilled fish.

Export Quality Grade A + + good quality premium factory made ​​mass production.

***Throughout Thailand and all country in the worldwide ***

*** Production capacity 1000 Kg./Day ***

*** Grilled Pangasius experience for over 20 years ***

Please contact the factory and address.
Mr.Kittisak Hasuchol.
  91 Moo 1, Tambon Rong-Chang, Maharashtra, Ayutthaya. 13150,Thailand.

Tel. +66-35-766-389,+6689-540-3014


grilled fish, Grilled Pangasius, Pangasius, Smoked, ปลาย่าง, ปลาสวายย่าง, ปลาสวายรมควัน,Dried Fish,Catfish

" ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ " / Pangasius Dory fish

grilled fish, Grilled Pangasius, Pangasius, Smoked, ปลาย่าง, ปลาสวายย่าง, ปลาสวายรมควัน,Dried Fish,Catfish

" ปลาสวาย " / Pangagius fish

ช่วงนี้ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ ปลาดอรี่ ปลาสวาย เกิดเป็นกระแสพูดกันให้ได้ยินเข้าหู ทั้งที่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีข้อมูลอยู่พอสมควร จึงขอหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาชี้แจงแถลงไขสักครั้ง และเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างสายพันธุ์ปลาที่โดนพาดพิงถึงในที่นี้ จะขออธิบายก่อนว่าเรากำลังพูดกันถึงปลา 2 สายพันธุ์หลัก  
         
       สายพันธุ์แรกคือ ปลาดอรี่ ซึ่งมีชื่อเต็มว่า จอห์น ดอรี่ (John Dory) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zenopsis conchifera อาศัยอยู่ในทะเลลึกของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นปลาตัวกลมๆ อ้วนๆ เนื้อปลามีสีขาว รสชาติอร่อย และมีการนำเข้ามาขายในประเทศไทยมานานแล้ว เเต่ข้อเสียก็คือราคาเเพงมาก
     
        สายพันธุ์ที่สองคือ ปลาในกลุ่มแพนกาเซียสหรือปลาสวาย ซึ่งปลาในตระกูลนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาบึก ปลาคัง ปลาเทโพ เป็นต้น สำหรับสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับปลาตระกูลแพนกาเซียสที่มีการพูดถึงกันอยู่ขณะนี้คือ ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Pangasius Hypophthalmus” มีลักษณะเนื้อสีขาว รสชาติอร่อยใกล้เคียงกับปลาจอห์นดอรี่ แต่ราคาถูกกว่า จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อดอร์รี่ อย่างติดปากมาเนิ่นนาน
     
        ประเทศไทยมีการนำเข้าปลากลุ่มแพนกาเซียสดอร์รี่นี้จากประเทศเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ โดยที่เวียดนามนั้นมีปลาแพนกาเซียส 2 ชนิดหลักๆคือ BASA และ TRA เป็นเหตุให้เกิดความสับสนเรียกปลาชนิดนี้กันไปหลายชื่อ เช่น ปลาบาซาบ้าง ปลาเผาะบ้าง ดังนั้น กลุ่มผู้นำเข้าจึงต้องการสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง และเริ่มมีการพูดคุยกันถึงชื่อทางการค้าที่จะใช้ตรงกัน    
     

        “แพนกาเซียสดอร์รี่” เป็นชื่อสากล ขณะที่ “สวาย” เป็นชื่อท้องถิ่น

        แม้ว่าผู้บริโภคคนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าปลาแพนกาเซียสดอร์รี่คือปลาสวายสายพันธุ์หนึ่งก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้บริโภคอีกส่วนหนึ่งยังสับสนระหว่าง ปลาจอห์นดอรี่กับปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ ผู้นำเข้าและผู้ค้าเองก็พยายามที่จะทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้ถูกต้อง จึงมีการระบุชื่อสากลอย่างแพนกาเซียสดอร์รี่ไว้ เพื่อให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ทั่วโลก ขณะที่คำว่า สวาย หรือปลาสวาย เป็นชื่อท้องถิ่นที่ใช้กันเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น
     
        ในที่สุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ออกหนังสือเรื่องแนวทางการแสดงฉลากเนื้อปลาสวายหรือเนื้อปลาในตระกูลแพนกาเซียสเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 เพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติร่วมกันสำหรับผู้ค้าและสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค โดยระบุให้ปรับแก้ไขการแสดงฉลากให้ถูกต้อง ภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 ความว่า
     
        1. หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาสวายที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius Hypophthalmus เพื่อจำหน่าย ฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่า ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่

        2. หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาโมง หรือปลาเผาะ หรือปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในตระกูล Pangasius เพื่อจำหน่าย ให้แสดงชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius spp ฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่า ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่
     
       จากประกาศของ อย.ดังกล่าว ทำให้ต้องมีการระบุคำว่า แพนกาเซียส ลงไปบนฉลาก ซึ่งหมายถึงสายพันธุ์หนึ่งของปลาสวายอย่างชัดเจนอยู่แล้ว และผู้ค้าทุกรายก็ถือปฏิบัติตามคำสั่งของทางราชการอย่างเคร่งครัด
     
        อย่างไรก็ตาม แม้ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ที่นำเข้าจากเวียดนามและปลาสวายไทยจะจัดเป็นปลาชนิดเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันในด้านคุณภาพเนื้อปลา เนื่องจากวิธีการเลี้ยงและสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงตลอดจนอาหารที่ใช้ ส่งผลให้ลักษณะของเนื้อปลา สีสัน และกลิ่น แตกต่างกัน นอกจากนี้ลักษณะการวางจำหน่ายของปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ก็แตกต่างกับปลาสวายที่ขายกันตามตลาดสดทั่วไปในเมืองไทย  
     

        เวียดนามเลี้ยงปลาแพนกาเซียสดอร์รี่อย่างไร ?

        เวียดนามเลี้ยงปลาแพนกาเซียสดอร์รี่เป็นปลาเศรษฐกิจ ส่งออกไปขายทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย มีกระบวนการเลี้ยงการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานในฟาร์มระบบปิด และเป็นการเลี้ยงในน้ำสะอาดที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอดเวลาอย่างแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) ซึ่งเป็นจุดที่น้ำมีคุณภาพที่ดีมากจากการที่แม่น้ำ 5 สายมาบรรจบกัน มีกระแสน้ำไหลแรง สภาพน้ำที่ดีเกิดการไหลเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ เอื้อต่อการเติบโตของปลาแพนกาเซียสดอร์รี่เป็นอย่างดี และแม้ไม่ได้เลี้ยงในจุดแม่น้ำโขงเดลต้า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาก็จะต้องมีระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 30% เป็นประจำทุกวัน
     
       ขณะเดียวกันปลาชนิดนี้ยังกินอาหารเม็ดคุณภาพสูง ไม่ได้กินอะไรที่เป็นของเสียเลย กล้ามเนื้อของปลาจึงมีสีขาว น่ารับประทาน ทั้งยังสามารถเลี้ยงได้อย่างหนาแน่น ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในวงกว้าง กลายเป็นส่วนสนับสนุนให้ปลาชนิดนี้กลายเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามได้อย่างไม่ยากเย็น
     
        ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่จากประเทศเวียดนาม นอกจากจะมีเนื้อสีขาวแล้ว ยังไม่มีกลิ่นคาว เนื้อแน่น ไม่ยุ่ย สะดวกต่อการเลาะก้างออกและแล่เป็นชิ้น ขณะเดียวกันที่เวียดนามก็ยังมีระบบโรงงานตัดแต่งที่ได้มาตรฐาน มีแรงงานฝีมือที่สามารถแล่เนื้อได้อย่างถูกต้อง สวยงาม รวมถึงมีกระบวนการรักษาอุณหภูมิด้วยการแช่แข็ง เราจึงเห็นปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ในลักษณะเนื้อปลาแช่แข็งที่แล่อย่างสะอาด สวยงามวางจำหน่ายอยู่ในแพ็คเกจที่ดูดี
     
     
       คุณค่าทางโภชนะที่ไม่ควรมองข้าม

        ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ เป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม ในตระกูลเดียวกับปลาสวาย ปลาคัง ปลาเทโพ และปลาบึก เลี้ยงได้ในน้ำจืด จัดเป็นปลาหนัง ไม่มีเกล็ด เนื้อนุ่ม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acids) อย่างครบถ้วน มีกรดไขมันจำเป็นอย่างโอเมก้า -3 วิตามินบี 2 ซึ่งร่างกายต้องใช้ในการเผาผลาญโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีวิตามินดีที่กระดูกจำเป็นต้องใช้ในการสะสมแคลเซียม นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ไอโอดีน และแมกนีเซียมด้วย
     
        จากลักษณะเด่นของปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ที่กล่าวมา ทำให้กลายเป็นปลายอดนิยมในการบริโภคชนิดหนึ่ง โดยร้านฟาสต์ฟู้ดดังๆทั่วโลก ที่มีการขาย Fish and Chip หรือ Fish Burger ต่างก็ใช้วัตถุดิบจากปลาชนิดนี้กันแทบทั้งสิ้น
     
        ล่าสุด ขอคัดลอกข่าวของ ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง ที่อธิบายถึงปลาดอร์รี่ผ่านสื่อว่าเป็นการเรียกผิดแบบไทยที่ชอบเรียกอะไรสั้นๆ ปลาดอร์รี่ที่แท้จริงนั้น เป็นปลาทะเลน้ำลึก ส่วนดอร์รี่ที่เรียกกันผิดๆ เป็นปลาน้ำจืด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangsius Hypophthalmus และผู้นำเข้าใช้ชื่อทางการค้าว่า Pangsius Dory คำว่า Pangsius แปลว่าปลาสวายอยู่แล้ว และมีการเติมคำว่า Dory ลงไป เพื่อให้ความหมายว่าปลาสวายเนื้อสีขาว เพราะมีลักษณะพิเศษ เนื้อไม่เหลืองเหมือนปลาสวายบ้านเรา
     
       เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและอาหารที่ใช้เลี้ยงต่างกัน เพราะปลาสวายที่เลี้ยงในเวียดนาม บริเวณปากแม่น้ำโขงที่มีกระแสน้ำไหลแรง ปลาต้องออกแรงว่ายน้ำเยอะ ไขมันเลยมีน้อย ประกอบกับการเลี้ยงที่ไม่ให้อาหารที่มีส่วนผสมของข้าวโพดเนื้อปลาจึงไม่เหลืองเท่านั้นเอง...นับเป็นคำอธิบายสั้นๆ ที่สร้างความเข้าใจได้อย่างง่ายดายทีเดียว
     
        การจะให้คนไทยได้บริโภคโปรตีนจากเนื้อปลากันอย่างกว้างขวางนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะปลาเป็นอาหารสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป คนทุกระดับควรจะได้กินโปรตีนเนื้อปลาที่สะอาด ปลอดภัย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคนในชาติอย่างที่ทราบกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นแพนกาเซียสดอร์รี่ สวาย ช่อน เทโพ หรือ แซลมอน ก็ล้วนแต่ดีต่อการบริโภคทั้งนั้น ...วันนี้คุณกินปลาแล้วหรือยัง?
     
       ขอบคุณข้อมูล: วงศ์อร อร่ามกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านประมง