ปลาสวายย่างส่งออก
ปลาสวายย่างรมควันส่งออก
คุณภาพส่งออก ราคาไม่แพง
Kittisak Grilled Fish | Pangasius
Smoked|Grilled Pangasius from Thailand
เราคือโรงงานผู้ผลิตโดยตรง และจัดจำหน่าย
คุณภาพระดับส่งออก เกรด A++ อร่อย คุณภาพระดับพรีเมี่ยม ราคาโรงงาน รับสั่งผลิตเป็นจำนวนมาก
***ส่งให้ทั่วไทยและทั่วโลก***
*** ความสามารถในการผลิต 1,000 กิโลกรัม / วัน ***
*** ประสพการณ์ด้านการย่างปลาสวายกว่า 20 ปี ***
ที่ตั้งโรงงานและที่อยู่ กรุณาติดต่อ
กิตติศักดิ์ หาสุชล
บ้านเลขที่ 91 หมู่ 1 ต.โรงช้าง อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา 13150,ไทยแลนด์
โทร. 035-766-389,089-540-3014
อีเมล์ : kittisak.hasu@gmail.com
*********************************************************************************
*********************************************************************************
We are the manufacturer directly. And distribution.
Grilled Pangasius, Pangasius,
Smoked, grilled fish.
Export Quality Grade A + + good quality premium factory made mass production.
Throughout Thailand and all country in the worldwide ***
Throughout Thailand and all country in the worldwide ***
*** Production capacity 1000 Kg./Day ***
*** Grilled Pangasius experience for over 20 years ***
Please contact the factory and address.
Mr.Kittisak Hasuchol.
91 Moo 1, Tambon Rong-Chang, Maharashtra, Ayutthaya. 13150, Thailand.
Tel. +66-35-766-389,+6689-540-3014
E-mail: kittisak.hasu@gmail.com
ปลาสวายย่างรมควันประเทศไทยจะก้าวเป็นครัวของโลก
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการผลิตอาหารเกินความต้องการของประชากรใน
ประเทศและได้ส่งออกผลผลิตส่วนเกินดังกล่าวไปในตลาดการค้าอาหารของโลก ทั้งในรูปของ
สินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปและอาหาร ได้แก่ ข้าว น้ำตาล อาหารทะเลแช่แข็งและอบแห้ง
เป็นต้น โดยในปี 2550 มีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารโดยรวมไม่ต่ำกว่า 7 แสนล้านบาท
เป็นที่คาดเดากันว่าในอนาคต สถานการณ์การขาดแคลนอาหารของโลกน่าจะทวีความรุนแรงเพิ่ม
มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทย และควรเร่งหาโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการ
ผลิตและการส่งออกสินค้าอาหารของไทยให้ก้าวขึ้นเป็นครัวของโลก
เป็นที่ตระหนักกันดีว่าการที่จะก้าวเป็นผู้นำด้านอาหารของโลกนั้น มีความจำเป็นที่
จะต้องใส่ใจในเรื่องของความปลอดภัยของอาหารต่อสุขภาพและอนามัย ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้ง
ในระดับไร่นา กระบวนการแปรรูป และกระบวนการส่งออก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความ
เชื่อมั่นและเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะประเทศที่นำเข้า สินค้าอาหารของไทยรายใหญ่ เช่น ญี่ปุน่
สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ต่างก็ใส่ใจในเรื่องคุณภาพของอาหารและความปลอดภัยของ
อาหารก่อนจะให้นำเข้า ดังจะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศได้มีข้อกำหนดต่างๆว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐาน
ของสินค้าและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ก่อนการนำเข้าสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้การคุ้มครองกับ
ผู้บริโภคภายในประเทศของตน และรวมถึงการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อปกป้องทางการค้าภายใต้
กติกาการค้าเสรี
แม้ว่าประเทศไทยจะได้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ ครัวไทยสู่ครัวโลก มาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งได้มี
แผนหลายๆอย่างที่ได้กำหนดไว้ แต่การที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้นำการส่งออกสินค้า
อาหารรายใหญ่ของโลกได้นั้น ปัจจัยที่น่าจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญ น่าจะเป็นระบบโครงสร้าง
พื้นฐานของความปลอดภัยด้านอาหารซึ่งในที่นี้หมายรวมถึง กฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐาน กลไก
และระบบงานตรวจสอบมาตรฐาน การทำความเข้าใจกับผู้ผลิตซึ่งมีมากและกระจายทั่วประเทศ
ตลอดจนการควบคุมการปฏิบัติตามระเบียบและข้อกำหนดอย่างโปรงใส ซึ่งหลายอย่างยังไม่ได้
มาตรฐานสากล ทำให้ประเทศผู้นำเข้าขาดความมั่นใจในคุณภาพ
กรณีตัวอย่างของการปนเปื้อนจากการใช้สารปฏิชีวนะ (เช่น ไนโตรฟูราน และคลอแรมฟูนิ
คอล) ในกุ้งกุลาดำ สารกำจัดแมลงในกลุ่มพืชผักและผลไม้ สารโลหะหนักในกลุ่มอาหารทะเลบาง
ชนิด เป็นต้น ซึ่งกรณีดังกล่าว เป็นเครื่องสะท้อนถึงความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน
ของกระบวนการผลิตอาหาร ทำให้ขาดความเชื่อถือและความไว้ใจต่อผู้ซื้อและผู้บริโภค อันเป็น
อุปสรรคที่สำคัญต่อการส่งออกสินค้าอาหาร
นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปอาหาร การเข้าสู่ระบบทั้ง HACCP และ GMP แม้
จะมีการจัดทำกันไปบ้างแล้วโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการอาหารขนาดใหญ่ แต่กลุ่ม
ผู้ประกอบการอาหารขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมากนั้นยังขาดการเข้าถึงระบบ
ดังกล่าว สำหรับ ในกลุ่มของเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรส่วนมากยังขาดความเข้าใจถึง
การผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยพบว่ามีเกษตรกรจำนวนน้อยมากที่เข้าสู่
ระบบ GAP หากเทียบกับจำนวนเกษตรกรทั้งประเทศ
ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว หากไม่เตรียมการในการจัดระบบโครงสร้างและการจัดการที่ดี
แล้ว ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในระบบการผลิตและรวมถึงห่วงโซ่อุปทานในสินค้า
อาหารส่งออกของไทยในอนาคต และจะนำมาซึ่งการสูญเสียโอกาสและประโยชน์ในอนาคตต่อ
เศรษฐกิจการส่งออกสินค้าอาหารไทย
ดังนั้น ความสำคัญเร่งด่วนของการที่จะก้าวไปเป็นครัวของโลก จึงควรที่ผู้เกี่ยวข้องเชิง
นโยบายจะให้น้ำหนักความสำคัญของการสร้างกลไกให้เกิดการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของ
สินค้าในห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิผล
หากทำได้สำเร็จโดยเร็วจะสร้างโอกาสและผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
ของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของประเทศอย่างมหาศาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น